วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ช่วยน้ำท่วมใหญ่ รอบ 100 ปี ประเทศไทย เขื่อน คืออะไร เขื่อนแตกจะทำอย่างไร วิธีการรับมือเมื่อมีภัย จากน้ำ



                            รวมใจช่วยน้ำท่วมเมือง 2554 ประเทศไทย
                                   ดร.สมัย แสงมณี/เหมมั่น

เขือนแตกทำไง

น้ำท่วมทำไง

น้ำนอง ขังนานๆทำไง

น้ำไม่ลดทำไง


น้ำท่วม- ศรคีรี ศรีประจวบ - YouTube



www.youtube.com/watch?v=Cd5_aOjT3Wg17 พ.ย. 2009 - 3 นาที - อัปโหลดโดย chakrityคำร้อง/ทำนอง ไพบูลย์ บุตรขัน น้ำท่วมน้องว่าดีกว่าฝนแล้ง พี่ว่าน้ำแห้งให้ฝนแล้งเสียยังดีกว่า น้ำท่วมปีนี้ทุกบ้าน ล้วนมีแต่คราบน้ำตา พี่หนีน้ำขึ้นบนหลังคา น้ำ


เขื่อน คืออะไร
ที่มาของเขื่อน
เขื่อน สำคัญอย่างไร
ประเภทของเขื่อน
ความดีของเขื่อน
เขื่อนไม่ดีมีไหม
เขื่อน ดีๆมีไหม
เขื่อน แตก เป็นอย่างไร
ทำไมเขื่อนจะแตก
โอกาสที่เขือนจะแตกมีไหม
เขื่อนแตกแล้วจะทำอย่างไร
น้ำจากเขื่อนมีมากไหม
 เขื่อนที่ไหนจะแตก ก่อน
วีธีแก้ปัญหา มีอย่างไร
เขื่อนแตกแล้วใครรับผิดชอบ
บริษัทประกันภัย รับผิดชอบเรื่องความเสียหา จากเขื่อนแตกรึเปล่า
รัฐบาล รับผิดชอบแค่ไหน
เขื่อนแตกเป็น ผลงานของใคร
เขื่อนแตกใครได้ประโยชน์
เขื่อนแตก ใครเสียหาย

เขื่อน เป็นของใคร

เขื่อนมันจะแตกไหม

โอกาสเขื่อนจะแตกที่ใด

อยากทราบเรื่อง 108 ปัญหา

คนหน้าเขื่อน  ฝากถาม

      น้ำท่วมแล้ว จากเขื่อน ก็ช่วยเท่าที่ช่วยกัน
2554 วิบากกรรม ของไทยเรา ช่วยกัน คนละมือ


ดร.สมัย เหมมั่น
ตัวแทน ส่งมอบสิ่งของบริจาคช่วยน้ำท่วม
โครงการสิวารัตน์ ทุกโครงการ

บริษัท คาสเซ่อร์พีค เรียลเอสเตท จำกัด


ท่าน ผู้อำนวยการ บริษัท คาสเซ่อร์พีค เรียลเอสเตท จำกัด 
มอบให้ ดร.สมัย เหมมั่น จัดทำและส่งมอบ สิ่งของช่วยเหลือภัยน้ำท่วม อยุธยา บางประอิน บางปรหัน ปทุม บางบัวทอง และบ้านเราทุกคน ทั่วหน้ากัน
ดร.สมัย / น้องสุภาพร/พีก๋อง ส่งมอบสิ่งของ

แน่ะนำ สู้ๆๆๆคราฟ
เผยกลเม็ด “วิธีรับมือน้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล”
เนื่องจากขณะนี้หลายจังหวัด หลายพื้นที่ในประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัย จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอากาศที่แปรปรวน ผลกระทบจากพายุทั้งนกเต็น เนสาด และล่าสุดนาลแก ซ้ำยังโดนมรสุมถล่ม ทำให้ในหลายพื้นที่อยู่ในสภาวะวิกฤติถึงขั้นรุนแรงเพราะมีน้ำท่วมสูง บ้านเรือนประชาชน ที่อยู่อาศัยเสียหายนับพันหลัง
ทั้งนี้ทาง เสนา ของเราก็เจอบทความดีๆ ใน “Bloggang ทองกาญจนา” ของผู้ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านครั้งหนึ่ง เผยเคล็ดลับ วิธีการในการป้องกันบ้านไม่ให้ถูกน้ำท่วม ทาง เสนา จึงไม่รอช้ารีบนำมาเสนอผู้อ่านทันที เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครหลายคนที่คงจะกำลังประสบปัญหาน้ำท่วมหรือกำลังหาวิธีป้องกันบ้านของตนเองให้ปลอดภัยจากน้ำได้นำไปใช้หรือเรียนรู้ไว้ก็คงไม่เสียหายอะไร
วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลน้ำท่วมเชียงใหม่ปีนี้ บ้านผมก็หนีไม่พ้นอีกเช่นเคย เพราะอยู่ในโซนหมายเลข 1 ที่น้ำจะต้องท่วมก่อนโซนอื่น ๆ ยังโชคดีที่ อบต.ปรับปรุงถนนหน้าหมู่บ้านให้มีความสูงมากขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี ดังนั้นถึงแม้ระดับน้ำจากแม่น้ำปิงจะสูงเกินค่าวิกฤติ คือ 3.70 เมตร น้ำก็ยังไม่ล้นตลิ่งข้ามถนนเข้าไปท่วมหมู่บ้าน แต่ในที่สุดก็ไม่รอด เพราะปีนี้น้ำขึ้นสูงสุดถึง 4.94 เมตร สรุปว่าน้ำเริ่มเข้าท่วมถนนภายในหมู่บ้านตั้งแต่ตอนบ่ายวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 และหยุดท่วมในเช้าวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554
ถึงน้ำจะท่วมถนนภายในหมู่บ้านสูงถึง 60 ซม. จนไม่สามารถใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้า-ออกได้ตามปกติ แต่จากประสบการณ์ที่ต้องผจญกับน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้มาหลายครั้ง ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะป้องกันไม่ให้น้ำจากถนนภายในหมู่บ้าน ไหลเข้าไปท่วมในบริเวณบ้านอย่างได้ผล ขอนำมาบันทึกไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่น ๆ ในวันนี้ครับ
เตรียมการก่อน
ประสบการณ์จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1)บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2)กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่าไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน
น้ำมาแล้ว
เสียงประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้ว ในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้ามาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
เวลาประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสียหายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
คิดว่าบทความดีๆ “วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล” นี้ คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้อ่านและผู้ที่กำลังประสบปัญน้ำท่วมโดยตรง และทางเสนาขอเป็นกำลังใจสำหรับเพื่อนพี่น้องที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยน่ะค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Bloggang ทองกาญจนา http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=6&gblog





สนุกนะคราฟ



8 พฤศจิกายน 2554 ร่วมใจอุดกำแพงและรอยรั่วต่างฯ